ประเภทของการแสดงมโนราห์
การแสดงมโนราห์มี ๓ ชนิด
๑.การแสดงมโนราห์ธรรมดา
๒.การแสดงมโนราห์ประชันโรง
๓.การแสดงมโนราห์โรงครู
มโนราห์โรงครู
มโนราห์โรงครูเป็นศิลปะการแสดงประเภทดนตรี และการแสดงในพิธีกรรมที่ใช้ในการรักษาโรคและสร้างขวัญกำลังใจ
มโนราห์โรงครูหรือลงครู เป็นการเชิญตายาย ตาหลวง หรือครูหมอมโนราห์เข้ามาทรงตามปกติ คนทรงจะมีประจำอยู่แล้วหากคนทรงตายไปก่อน ต้องเลือกคนทรงใหม่อาจมีเชื้อสายมโนราห์หรือไม่มีก็ได้ โดยลูกหลานต้องมานั่งพร้อมหน้ากันและแต่งตัวคนทรงไว้ให้พร้อม คือนุ่งผ้าโจงกระเบน คาดเข็มขัดเงินหรือนาค ผ้าสไบพาดไหล่ นั่งบนบ้านหรือในโรงมโนราห์ก็ได้ ผู้ทรงมีผ้าขาวคลุมเพื่อความสะดวกในการนั่งสมาธิ นายโรงมโนราห์ว่าบทเชื้อเชิญพ่อแม่ ตายายเข้ามาทราง ตาหลวงที่เข้าทรงมีหลายองค์แต่ทุกเจ้าภาพจะต้องเชิญบูรพาจารย์มโนราห์ก่อน ซึ่งทางมโนราห์ทราบดี นั่นคือ ตาหมอเฒ่า ตาหมอสิงหร ตาหมอเทพ จากนั้นก็เชิญตายาย มโนราห์เจ้าภาพ การเชิญต้องเชิญมาเข้าทรงทีละองค์ คนทรงต้องสะบัด (มโนราห์ทำเพลงเชิด คนทรงสั่นอีกครั้ง เพื่อสลัดตาหลวงให้ออกจากร่าง) เสียก่อนจึงเชิญตาหลวงองค์ต่อไป ขณะเชิญตาหลวงเข้าทรง ดนตรีทำเพลงเชิดเข้าตามบท ร้องเชิญของครูหมอ (หัวหน้าโรง) เมื่อเข้าทรงคนทรงเริ่มทรงสั่น ดนตรีก็ทำเพลงเชิดแต่ละองค์เมื่อจับทรงหรือจับลง (สั่น) จึงเรียกวาลงครูหรือโรงครู
การแสดงมโนราห์โรงครู มีสาเหตุดังนี้
๑.เป็นการรับช่วงจากบรรพบุรุษที่กระทำสืบต่อกันมาโดยต้องลงครู หรือแสดงมโนราห์โรงครูทุกปีตามที่พ่อแม่ ตายายสั่งเอาไว้
๒.เกิดจากการบนบานศาลกว่า เนื่องจากลูกหลานเจ็บป่วยนำไปรักษาแพทย์ก็ไม่หาย จึงบนบานขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่ ตายายที่ล่วงลับไปแล้วให้รักษาอาการเจ็บป่วยนั้น หากไม่แก้บนอาจถูกลงโทษจากพ่อแม่ ตายายได้
๓.เกิดจากการแก้บน แต่สาเหตุจากการแก้บนบานเพื่อจะให้งานประสบผลสำเร็จในกิจการบางอย่าง พ่อแม่ตายายก็เลือกช่วย เมื่อประสบผลตามปรารถนาก็มีการแก้บนโดยมารับมโนราห์แสดงโรงครู
ขั้นตอน/ระยะเวลา/สถานที่ในการแสดงมโนราห์โรงครู
มโนราห์โรงครู จะเข้าโรงวันพุธตอนเย็น เวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. หรือเวลาจวนค่ำและสิ้นสุดการแสดงวันศุกร์ตอนบ่ายถึงเย็น เรียกว่าแสดงโรงครูโรงใหญ่ แต่ถ้าเริ่มวันพุธและออกวันพฤหัสบดีเวลาเดียวกัน เรียกว่าแสดงโรงครูโรงเล็ก
สถานที่ในการประกอบพิธี
โรงพิธีจะสร้างที่บ้านของผู้ที่แก้บน โดยโรงพิธีมีลักษณะเป็นโรงรูปสี่เหลี่ยม หลังคาเพิงหมาแหงนไม่มีการสร้างโรงยกพื้น หรือยกพื้นสูงพอประมาณโดยซีกที่มโนราห์แต่งตัวปล่อยโล่งมีฉากหรือม่านกั้นด้านตะวันออกมีเครื่องเซ่น เครื่องบูชา ประกอบด้วย บายศรีและดอกไม้ ธูปเทียน ตรงจั่วด้านตะวันออกทำเป็นพาไล สำหรับตั้งศาล ที่วางเครื่องบูชาและเครื่องสังเวย โรงมโนราห์ด้านตะวันออกจึงต้องคาดไม้แทนบันไดขึ้น-ลง ส่วนซีกขวามือมีเทริดหน้าพรานและเครื่องแต่งตัวมโนราห์แขวนไว้บูชา
องค์ประกอบในการทำพิธีโรงครู
วัสดุอุปกรณ์ในการทำพิธี ได้แก่ บายศรีชั้นบน บายศรีท้องโรง สาด หมอน เพดานบนศาล เพดานท้องโรงที่ตั้งเทริด สอบนั่งลาด พานผ้าขาว เครื่องเชี่ยน (ประกอบด้วย หมาก พลู ธูป เทียน) หม้อน้ำมนต์ สายสิญจน์ ผ้าคู่ ๒ คู่ (เสื้อผ้าผู้หญิง ๑ ชุด, ผู้ชาย ๑ ชุด) มีดครู (สำหรับตัดเหมรย) หอก (ใช้ ๗ เล่มสำหรับบทแทงเข้ ใช้ในพิธีโรงครูโรงใหญ่)
เครื่องสังเวย ได้แก่ ไก่ต้ม ๑ ตัว เหล้าขาว ๑ ขวด อาหารคาวหวาน (ข้าว แกง ถั่ว งา ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง ฯลฯ ใส่ในถ้วยเล็กๆ ให้ครบ ๑๒ ถ้วย) เครื่อง ๗ สิ่ง เครื่อง ๙ สิ่ง พอง ลา มะพร้าวอ่อน กล้วย อ้อย
เครื่องดนตรีและบทที่ใช้ในการประกอบพิธี
๑.ทับ
๒.กลอง
๓.โหม่ง
๔.ฉิ่ง
๕.ไม้แตระ
๖.ไม้กลับ
๗.ปี่
๘.ซอด้วง ซออู้
นายทวี นกแก้ว หรือมโนราห์คณะทวีศิลป์โบราณถือเป็นขวัญใจมโนราห์โรงครู ที่คนในภาคใต้รู้จักเป็นอย่างดี เป็นคณะมโนราห์ที่ถอดแบบประวัติรำมโนราห์โรงครูแบบโบราณ ในเรื่องพิธีการแก้เหมรยหรือแก้บน มีบทต่างๆ และบทสำคัญทั้งหมด ๓๓๖ บท มีตัวอย่างดังนี้
บทขานเอ
นอกอ นะกะ เล่า และรื่นเหอรื่น ลูกจะไหว้ นางธรณีเอาเล่าและพึ่งแผน เอาหลังเข้ามาตั้งให้เป็นแท่นรองตีนชาวมนุษย์เอาเล่าและทั้งหลายชั้นกรวดและดินดำ ชั้นถัดมาชั้นนำเล่าละอองทรายนาคเจ้าแลกฤๅสายขายให้โนเนโนในขานมาเล่าแล้ขาต้องทำนองเหมือนวัวชักไถ เพลงสำลีไม่ลืมใยพี่ไปก็ลืมน้องหนา ลมตั้งเมฆแล้วก็พัดขึ้นมาลาดว่าวดาราพัดโต้ด้วยลมสลาตันแล่นเรื่อเถิดเหวย น้องกลางคืนเป็นกลางวันแล่นออกลึกไม่เห็นฝั่งเอาเกาะกะชังมาเป็นเรือนเพื่อนบ้านเขานับปี นางนวลทองสำลีนับเดือนเอาเกาะกะชังมาเป็นเรือนเป็นแท่นที่นอนของน้องหนาค่ำแล้วแก้วพี่ค่ำเอยลงมาไรไร มาเราค่อยจดค่อยจ้องมาเราค่อยร้องค่อยไปรักเจ้านวลสลิ้มคือตังพิมพ์ทองหล่อใหม่เจ้านวลทั้งตัวสคราญเจ้านวลทั้งใบเจ้านวลจริงจริงไม่มีใยขัดใจไปแล้วน้องหนาครั้งถึงลงโรง ลูกยอไหว้ครู หารือพ่อขุนศรัทธา
การแสดงมโนราห์มี ๓ ชนิด
๑.การแสดงมโนราห์ธรรมดา
๒.การแสดงมโนราห์ประชันโรง
๓.การแสดงมโนราห์โรงครู
มโนราห์โรงครู
มโนราห์โรงครูเป็นศิลปะการแสดงประเภทดนตรี และการแสดงในพิธีกรรมที่ใช้ในการรักษาโรคและสร้างขวัญกำลังใจ
มโนราห์โรงครูหรือลงครู เป็นการเชิญตายาย ตาหลวง หรือครูหมอมโนราห์เข้ามาทรงตามปกติ คนทรงจะมีประจำอยู่แล้วหากคนทรงตายไปก่อน ต้องเลือกคนทรงใหม่อาจมีเชื้อสายมโนราห์หรือไม่มีก็ได้ โดยลูกหลานต้องมานั่งพร้อมหน้ากันและแต่งตัวคนทรงไว้ให้พร้อม คือนุ่งผ้าโจงกระเบน คาดเข็มขัดเงินหรือนาค ผ้าสไบพาดไหล่ นั่งบนบ้านหรือในโรงมโนราห์ก็ได้ ผู้ทรงมีผ้าขาวคลุมเพื่อความสะดวกในการนั่งสมาธิ นายโรงมโนราห์ว่าบทเชื้อเชิญพ่อแม่ ตายายเข้ามาทราง ตาหลวงที่เข้าทรงมีหลายองค์แต่ทุกเจ้าภาพจะต้องเชิญบูรพาจารย์มโนราห์ก่อน ซึ่งทางมโนราห์ทราบดี นั่นคือ ตาหมอเฒ่า ตาหมอสิงหร ตาหมอเทพ จากนั้นก็เชิญตายาย มโนราห์เจ้าภาพ การเชิญต้องเชิญมาเข้าทรงทีละองค์ คนทรงต้องสะบัด (มโนราห์ทำเพลงเชิด คนทรงสั่นอีกครั้ง เพื่อสลัดตาหลวงให้ออกจากร่าง) เสียก่อนจึงเชิญตาหลวงองค์ต่อไป ขณะเชิญตาหลวงเข้าทรง ดนตรีทำเพลงเชิดเข้าตามบท ร้องเชิญของครูหมอ (หัวหน้าโรง) เมื่อเข้าทรงคนทรงเริ่มทรงสั่น ดนตรีก็ทำเพลงเชิดแต่ละองค์เมื่อจับทรงหรือจับลง (สั่น) จึงเรียกวาลงครูหรือโรงครู
การแสดงมโนราห์โรงครู มีสาเหตุดังนี้
๑.เป็นการรับช่วงจากบรรพบุรุษที่กระทำสืบต่อกันมาโดยต้องลงครู หรือแสดงมโนราห์โรงครูทุกปีตามที่พ่อแม่ ตายายสั่งเอาไว้
๒.เกิดจากการบนบานศาลกว่า เนื่องจากลูกหลานเจ็บป่วยนำไปรักษาแพทย์ก็ไม่หาย จึงบนบานขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่ ตายายที่ล่วงลับไปแล้วให้รักษาอาการเจ็บป่วยนั้น หากไม่แก้บนอาจถูกลงโทษจากพ่อแม่ ตายายได้
๓.เกิดจากการแก้บน แต่สาเหตุจากการแก้บนบานเพื่อจะให้งานประสบผลสำเร็จในกิจการบางอย่าง พ่อแม่ตายายก็เลือกช่วย เมื่อประสบผลตามปรารถนาก็มีการแก้บนโดยมารับมโนราห์แสดงโรงครู
ขั้นตอน/ระยะเวลา/สถานที่ในการแสดงมโนราห์โรงครู
มโนราห์โรงครู จะเข้าโรงวันพุธตอนเย็น เวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. หรือเวลาจวนค่ำและสิ้นสุดการแสดงวันศุกร์ตอนบ่ายถึงเย็น เรียกว่าแสดงโรงครูโรงใหญ่ แต่ถ้าเริ่มวันพุธและออกวันพฤหัสบดีเวลาเดียวกัน เรียกว่าแสดงโรงครูโรงเล็ก
สถานที่ในการประกอบพิธี
โรงพิธีจะสร้างที่บ้านของผู้ที่แก้บน โดยโรงพิธีมีลักษณะเป็นโรงรูปสี่เหลี่ยม หลังคาเพิงหมาแหงนไม่มีการสร้างโรงยกพื้น หรือยกพื้นสูงพอประมาณโดยซีกที่มโนราห์แต่งตัวปล่อยโล่งมีฉากหรือม่านกั้นด้านตะวันออกมีเครื่องเซ่น เครื่องบูชา ประกอบด้วย บายศรีและดอกไม้ ธูปเทียน ตรงจั่วด้านตะวันออกทำเป็นพาไล สำหรับตั้งศาล ที่วางเครื่องบูชาและเครื่องสังเวย โรงมโนราห์ด้านตะวันออกจึงต้องคาดไม้แทนบันไดขึ้น-ลง ส่วนซีกขวามือมีเทริดหน้าพรานและเครื่องแต่งตัวมโนราห์แขวนไว้บูชา
องค์ประกอบในการทำพิธีโรงครู
วัสดุอุปกรณ์ในการทำพิธี ได้แก่ บายศรีชั้นบน บายศรีท้องโรง สาด หมอน เพดานบนศาล เพดานท้องโรงที่ตั้งเทริด สอบนั่งลาด พานผ้าขาว เครื่องเชี่ยน (ประกอบด้วย หมาก พลู ธูป เทียน) หม้อน้ำมนต์ สายสิญจน์ ผ้าคู่ ๒ คู่ (เสื้อผ้าผู้หญิง ๑ ชุด, ผู้ชาย ๑ ชุด) มีดครู (สำหรับตัดเหมรย) หอก (ใช้ ๗ เล่มสำหรับบทแทงเข้ ใช้ในพิธีโรงครูโรงใหญ่)
เครื่องสังเวย ได้แก่ ไก่ต้ม ๑ ตัว เหล้าขาว ๑ ขวด อาหารคาวหวาน (ข้าว แกง ถั่ว งา ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง ฯลฯ ใส่ในถ้วยเล็กๆ ให้ครบ ๑๒ ถ้วย) เครื่อง ๗ สิ่ง เครื่อง ๙ สิ่ง พอง ลา มะพร้าวอ่อน กล้วย อ้อย
เครื่องดนตรีและบทที่ใช้ในการประกอบพิธี
๑.ทับ
๒.กลอง
๓.โหม่ง
๔.ฉิ่ง
๕.ไม้แตระ
๖.ไม้กลับ
๗.ปี่
๘.ซอด้วง ซออู้
นายทวี นกแก้ว หรือมโนราห์คณะทวีศิลป์โบราณถือเป็นขวัญใจมโนราห์โรงครู ที่คนในภาคใต้รู้จักเป็นอย่างดี เป็นคณะมโนราห์ที่ถอดแบบประวัติรำมโนราห์โรงครูแบบโบราณ ในเรื่องพิธีการแก้เหมรยหรือแก้บน มีบทต่างๆ และบทสำคัญทั้งหมด ๓๓๖ บท มีตัวอย่างดังนี้
บทขานเอ
นอกอ นะกะ เล่า และรื่นเหอรื่น ลูกจะไหว้ นางธรณีเอาเล่าและพึ่งแผน เอาหลังเข้ามาตั้งให้เป็นแท่นรองตีนชาวมนุษย์เอาเล่าและทั้งหลายชั้นกรวดและดินดำ ชั้นถัดมาชั้นนำเล่าละอองทรายนาคเจ้าแลกฤๅสายขายให้โนเนโนในขานมาเล่าแล้ขาต้องทำนองเหมือนวัวชักไถ เพลงสำลีไม่ลืมใยพี่ไปก็ลืมน้องหนา ลมตั้งเมฆแล้วก็พัดขึ้นมาลาดว่าวดาราพัดโต้ด้วยลมสลาตันแล่นเรื่อเถิดเหวย น้องกลางคืนเป็นกลางวันแล่นออกลึกไม่เห็นฝั่งเอาเกาะกะชังมาเป็นเรือนเพื่อนบ้านเขานับปี นางนวลทองสำลีนับเดือนเอาเกาะกะชังมาเป็นเรือนเป็นแท่นที่นอนของน้องหนาค่ำแล้วแก้วพี่ค่ำเอยลงมาไรไร มาเราค่อยจดค่อยจ้องมาเราค่อยร้องค่อยไปรักเจ้านวลสลิ้มคือตังพิมพ์ทองหล่อใหม่เจ้านวลทั้งตัวสคราญเจ้านวลทั้งใบเจ้านวลจริงจริงไม่มีใยขัดใจไปแล้วน้องหนาครั้งถึงลงโรง ลูกยอไหว้ครู หารือพ่อขุนศรัทธา
ประวัติศิลปิน
นายทวี นกแก้ว (มโนราห์ทวีศิลป์โบราณ) เป็นชาวเขาพังไกร เกิด พ.ศ. ๒๔๘๓ ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านเลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลเขาพังไกร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่อยู่ปัจจุบัน ๖/๗ หมู่ที่ ๙ ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช นายทวี นกแก้ว เริ่มฝึกหัดรำมโนราห์ โดยเป็นลูกศิษย์ของมโนราห์เทพ (สองกุก) บ้านลากชาย ตำบลเขาพังไกร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ ๑ ปี ๗ เดือน จากนั้นจึงหัดเพิ่มเติมจากมโนราห์ลาภ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดตั้งคณะมโนราห์ที่บ้านเขาเหมน กิ่งอำเภอช้างกลาง และก็รำเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันท่านมีบุตรชาย ๖ คน บุตรทั้งหมดได้รับการถ่ายทอดการแสดงมโนราห์ และรับแสดงมโนราห์กันทุกคนและถือว่าการแสดงมโนราห์เป็นอาชีพที่หาเลี้ยงครอบครัวได้
การแต่งกาย
การแต่งกาย การแสดงในสมัยก่อนตัวแสดงไม่สวมเสื้อ ตามลักษณะการแต่งกายของคนสมัยนั้นมโนราห์สวม แต่สังวาลกับทับทรวงคล้องคอ ใส่สนับเพลายาวถึงข้อเท้า นุ่งผ้าหยักสูง มีหางหงส์เจียรบาด คาดเข็มขัดทับสายเอว ข้อมือใส่กำไล ต้นแขนใส่พาหุรัดทั้งสองข้าง สวมเทริด การแต่งกายคล้ายคลึงกับการแต่งกายของกษัตริย์ ปัจจุบันการแต่งกายได้เปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว โดยมีการสวมเสื้อ เสื้อมี ๒ ชั้น ชั้นในตัดด้วยผ้าธรรมดา ชั้นนอกร้อยลูกปัด เมื่อแต่งตัวเสร็จจะสวมเทริด สวมเล็บ เล็บที่สวมจะมีลักษณะคล้ายกรวยมีก้านโค้งงาม การสวมเล็บสวมทุกนิ้วยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ
ฉาก
สมัยก่อนการแสดงไม่มีฉากที่เขียนภาพ ปราสาทราชวัง หรือวิวธรรมชาติที่สวยงาม เพราะแสดงกลางลานแต่ปัจจุบันมีฉากเปลี่ยนตามท้องเรื่อง (มโนราห์โรงครูนำฉากกั้นเพื่อแต่งกายของนักแสดงผู้หญิง)
การแต่งหน้า
ต้องมีการเสกเป่าด้วยคาถาอาคม เช่น คาถาอิทธิเจ ช้างตามโขลง สาวลืมเรือน แม่ลืมลูก เมื่อเสกคาถาจบก็ลงอักขระ และยังถือเคล็ดการทาแป้งต้องทาตามราศีขจร วันไหนราศีอยู่ตรงต้องทาตรงนั้นก่อน แต่ปัจจุบันแต่งหน้าเพื่อความสวยงามเท่านั้นนอกจากเป็นงานที่สำคัญจริงๆ จึงมีการเสกเป่า
จำนวนผู้แสดง
ผู้แสดงประกอบด้วย นายโรง ตัวนาง จำอวด และนักดนตรีลูกคู่ ประมาณ ๓๐ คน
แสดงในพิธีโรงครูประมาณ ๑๐ คน ประกอบด้วย
-มีนางรำ ๓ คน
-ดนตรีลูกคู่ ๕ คน
-นายโรงและนายพราน
หน้าพราน (นายพรานสวมใส่ที่ใบหน้า) เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของมโนราห์ การแสดงจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับคนที่เป็นพราน เมื่อออกแสดงต้องสวมหน้ากากเรียกว่าหน้าพราน แกะจากไม้ทาสี ให้ดูตลกสนุกสนาน ลักษณะพิเศษของหน้าพรานคือ จมูกใหญ่ แก้มป่อง ปลายจมูกและแก้มจะทาสีแดง มโนราห์ถือว่าหน้าพรานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสามารถป้องกันอันตรายในระยะ๓ วา จากหน้าโรงได้
นายทวี นกแก้ว (มโนราห์ทวีศิลป์โบราณ) เป็นชาวเขาพังไกร เกิด พ.ศ. ๒๔๘๓ ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านเลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลเขาพังไกร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่อยู่ปัจจุบัน ๖/๗ หมู่ที่ ๙ ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช นายทวี นกแก้ว เริ่มฝึกหัดรำมโนราห์ โดยเป็นลูกศิษย์ของมโนราห์เทพ (สองกุก) บ้านลากชาย ตำบลเขาพังไกร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ ๑ ปี ๗ เดือน จากนั้นจึงหัดเพิ่มเติมจากมโนราห์ลาภ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดตั้งคณะมโนราห์ที่บ้านเขาเหมน กิ่งอำเภอช้างกลาง และก็รำเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันท่านมีบุตรชาย ๖ คน บุตรทั้งหมดได้รับการถ่ายทอดการแสดงมโนราห์ และรับแสดงมโนราห์กันทุกคนและถือว่าการแสดงมโนราห์เป็นอาชีพที่หาเลี้ยงครอบครัวได้
การแต่งกาย
การแต่งกาย การแสดงในสมัยก่อนตัวแสดงไม่สวมเสื้อ ตามลักษณะการแต่งกายของคนสมัยนั้นมโนราห์สวม แต่สังวาลกับทับทรวงคล้องคอ ใส่สนับเพลายาวถึงข้อเท้า นุ่งผ้าหยักสูง มีหางหงส์เจียรบาด คาดเข็มขัดทับสายเอว ข้อมือใส่กำไล ต้นแขนใส่พาหุรัดทั้งสองข้าง สวมเทริด การแต่งกายคล้ายคลึงกับการแต่งกายของกษัตริย์ ปัจจุบันการแต่งกายได้เปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว โดยมีการสวมเสื้อ เสื้อมี ๒ ชั้น ชั้นในตัดด้วยผ้าธรรมดา ชั้นนอกร้อยลูกปัด เมื่อแต่งตัวเสร็จจะสวมเทริด สวมเล็บ เล็บที่สวมจะมีลักษณะคล้ายกรวยมีก้านโค้งงาม การสวมเล็บสวมทุกนิ้วยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ
ฉาก
สมัยก่อนการแสดงไม่มีฉากที่เขียนภาพ ปราสาทราชวัง หรือวิวธรรมชาติที่สวยงาม เพราะแสดงกลางลานแต่ปัจจุบันมีฉากเปลี่ยนตามท้องเรื่อง (มโนราห์โรงครูนำฉากกั้นเพื่อแต่งกายของนักแสดงผู้หญิง)
การแต่งหน้า
ต้องมีการเสกเป่าด้วยคาถาอาคม เช่น คาถาอิทธิเจ ช้างตามโขลง สาวลืมเรือน แม่ลืมลูก เมื่อเสกคาถาจบก็ลงอักขระ และยังถือเคล็ดการทาแป้งต้องทาตามราศีขจร วันไหนราศีอยู่ตรงต้องทาตรงนั้นก่อน แต่ปัจจุบันแต่งหน้าเพื่อความสวยงามเท่านั้นนอกจากเป็นงานที่สำคัญจริงๆ จึงมีการเสกเป่า
จำนวนผู้แสดง
ผู้แสดงประกอบด้วย นายโรง ตัวนาง จำอวด และนักดนตรีลูกคู่ ประมาณ ๓๐ คน
แสดงในพิธีโรงครูประมาณ ๑๐ คน ประกอบด้วย
-มีนางรำ ๓ คน
-ดนตรีลูกคู่ ๕ คน
-นายโรงและนายพราน
หน้าพราน (นายพรานสวมใส่ที่ใบหน้า) เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของมโนราห์ การแสดงจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับคนที่เป็นพราน เมื่อออกแสดงต้องสวมหน้ากากเรียกว่าหน้าพราน แกะจากไม้ทาสี ให้ดูตลกสนุกสนาน ลักษณะพิเศษของหน้าพรานคือ จมูกใหญ่ แก้มป่อง ปลายจมูกและแก้มจะทาสีแดง มโนราห์ถือว่าหน้าพรานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสามารถป้องกันอันตรายในระยะ๓ วา จากหน้าโรงได้
บทกลอนของมโนราห์
ใช้กลอนแปดเป็นทำนองกำพรัด การว่ากลอนหรือทำนองกลอนนี้ว่าเป็นกลอนสด มีบทชมนกชมไม้หรือใช้ท่าทางต่างๆ ของสถานที่ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในถิ่นนั้น การว่ากลอนสดแต่โบราณนี้แสดงให้เห็นว่าชาวใต้เป็นนักกลอนโดยสายเลือด
การสืบทอด
มโนราห์คือมรดกอันล้ำค่าของภาคใต้ มรดกเหล่านี้ได้ตกทอดกันมาเป็นเวลานาน ผู้รำมโนราห์เท่ากับว่าเป็นผู้รับมรดกและถ่ายทอดมรดกโดยตรงให้แก่ลูกหลานต่อไปในอนาคต ซึ่งมโนราห์ทวีศิลป์โบราณได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดให้เยาวชนเช่น
๑.สอนให้กับนักเรียนโรงเรียนมหาราช ๓ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
๒.โรงเรียนวัดจำปา อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
๓.เปิดฝึกสอนที่บ้านของตนเองให้กับบุตรหลานและผู้ที่สนใจ
เก็บข้อมูล ณ มโนราห์ทวีศิลป์โบราณ ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙
โดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
ใช้กลอนแปดเป็นทำนองกำพรัด การว่ากลอนหรือทำนองกลอนนี้ว่าเป็นกลอนสด มีบทชมนกชมไม้หรือใช้ท่าทางต่างๆ ของสถานที่ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในถิ่นนั้น การว่ากลอนสดแต่โบราณนี้แสดงให้เห็นว่าชาวใต้เป็นนักกลอนโดยสายเลือด
การสืบทอด
มโนราห์คือมรดกอันล้ำค่าของภาคใต้ มรดกเหล่านี้ได้ตกทอดกันมาเป็นเวลานาน ผู้รำมโนราห์เท่ากับว่าเป็นผู้รับมรดกและถ่ายทอดมรดกโดยตรงให้แก่ลูกหลานต่อไปในอนาคต ซึ่งมโนราห์ทวีศิลป์โบราณได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดให้เยาวชนเช่น
๑.สอนให้กับนักเรียนโรงเรียนมหาราช ๓ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
๒.โรงเรียนวัดจำปา อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
๓.เปิดฝึกสอนที่บ้านของตนเองให้กับบุตรหลานและผู้ที่สนใจ
เก็บข้อมูล ณ มโนราห์ทวีศิลป์โบราณ ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙
โดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
Best Casinos in Harrah's Resort Southern California - Mapyro
ตอบลบHarrah's Resort 전라남도 출장마사지 Southern California locations, 삼척 출장마사지 rates, amenities: 익산 출장샵 expert Harrah's reviews, only 남양주 출장마사지 at 과천 출장안마 Hotel and Travel Index.