วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ติดต่อเรา



นายอัศนัย ขาวเนียม

E-mail jar_4752@hotmail.co.th

facebook- อัศนัย ขาวเนียม

อัลบั้ม














ตำนานเครื่องรางของขลัง

ตำนาน มโนราห์


 ตำนาน มโนราห์

เป็นการละเล่นพื้นเมืองภาคใต้ที่มีมาแต่โบราณ ด้วยกาลเวลาที่ยาวนานทำให้เรื่องเล่า “โนรา” ผิดเพี้ยนกันเป็นหลายกระแส เช่น กระแสที่เล่าโดย ขุนอุปถัมภ์นรากร (โนราพุ่มเทวา) อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ความว่า
พระยาสายฟ้าฟาด เป็นกษัตริย์ครองเมือง ๆ หนึ่ง มีชายาชื่อ นางศรีมาลา มีธิดาชื่อ นวลทองสำลี วันหนึ่ง นางนวลทองสำลี สุบิน[1] ว่ามีเทพธิดามาร่ายรำให้ดู ท่ารำมี ๑๒ ท่า มีดนตรีประโคม ได้แก่ กลอง โหม่ง ปี่ ทับ ฉิ่ง และ แตระ นางให้ทำเครื่องดนตรี และหัดรำตามที่สุบิน เป็นที่ครึกครื้นในปราสาท
วันหนึ่ง นางอยากเสวยเกสรบัวในสระหน้าวัง ครั้นนางกำนัลเก็บถวายให้เสวย นางก็ทรงครรภ์ แต่ยัง
คงเล่นรำอยู่ตามปกติ วันหนึ่งพระยาสายฟ้าฟาดเสด็จมาทอดพระเนตรการรำของธิดา เห็นนางทรงครรภ์ ทรง ซักไซ้เอาความจริง ได้ความว่าเหตุเพราะเสวยเกสรบัว พระยาสายฟ้าฟาดไม่ทรงเชื่อ และเห็นว่านางทำให้ อัปยศ จึงรับสั่งให้เอานางลอยแพพร้อมด้วยสนมกำนัล ๓๐ คน แพไปติดเกาะกะชัง นางจึงเอาเกาะนั้นเป็นที่อาศัย
ตำนาน มโนราห์2
พระพุทธไสยาสน์ทรงเทริดมโนราห์ที่วัดภูเขาทอง  ต. น้ำผุด อ. เมือง จ. ตรัง
นั้นสื่อถึงว่าเทริดเป็นของสูงที่ควรแก่การประดับเศียรพระ
ต่อมาได้ประสูติโอรส ทรงสอนให้โอรสรำโนราได้ชำนาญ แล้วเล่าเรื่องแต่หนหลังให้ทรงทราบ ต่อมากุมารน้อยซึ่งเป็นโอรสของนางนวลทองสำลี ได้โดยสารเรือพ่อค้าไปเที่ยวรำโนรายังเมือง พระอัยกา เรื่องเล่าลือไปถึงพระยาสายฟ้าฟาด ๆ ทรงปลอมพระองค์ไปดูโนรา เห็นกุมารน้อยมีหน้าตาคล้าย
พระธิดา จึงทรงสอบถามจนได้ความจริงว่าเป็นพระราชนัดดา จึงรับสั่งให้เข้าวัง และให้อำมาตย์ไปรับ นางนวลทองสำลีจากเกาะกะชัง แต่นางไม่ยอมกลับ พระยาสายฟ้าฟาดจึงกำชับให้จับมัดขึ้นเรือพามา
ครั้นเรือมาถึงปากน้ำจะเข้าเมือง ก็มีจระเข้ลอยขวางทางไว้ ลูกเรือจึงต้องปราบจระเข้ ครั้นนางเข้าเมืองแล้ว พระยาสายฟ้าฟาดได้จัดพิธีรับขวัญ[2] ขึ้น และให้มีการรำโนราในงานนี้ โดยประทานเครื่องต้น อันมีเทริด กำไลแขน ปั้นเหน่ง สังวาลพาดเฉียง ๒ ข้าง ปีกนกแอ่น หางหงส์ สนับเพลา ฯลฯ ซึ่งเป็นเครื่องทรงของ กษัตริย์ให้เป็นเครื่องแต่งตัวโนรา และพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้แก่กุมารน้อยราชนัดดา เป็นขุนศรีศรัทธา
ตำนานกระแสนี้ ยังมีเล่าเป็นคำกาพย์ไว้ด้วยใจความอย่างเดียวกัน
นางนวลทองสำลี เป็นบุตรีท้าวพระยา
นรลักษณ์งามหนักหนา จะแจ่มดังอัปสร
เทวาเข้าไปดลจิต ให้เนรมิตเทพสิงหร
รูปร่างอย่างขี้หนอน ร่อยรำง่าท่าต่างกัน
แม่ลายฟั่นเฟือน กระหนกล้วนแต่เครือวัลย์
บทบาทกล่าวพาดพัน ย่อมจำแท้แน่หนักหนา
จำได้สอบสองบท ตามกำหนดในวิญญาณ์
เมื่อฟื้นตื่นขึ้นมา แจ้งความเล่าเหล่ากำนัล
แจ้งตามเนื้อความฝัน หน้าที่นั่งของท้าวไท
วันเมื่อจะเกิดเหตุ ให้อาเพศกำจัดไกล
ให้อยากดอกมาลัย อุบลชาติผลพฤกษา
เทพบุตรจุติจากสวรรค์ เข้าทรงครรภ์นางฉายา
รู้ถึงพระบิดา โกรธโกรธาเป็นฟุนไฟ
ลูกชั่วร้ายทำขายหน้า ใส่แพมาแม่ย้ำไหล
พร้อมสิ้นกำนัลใน ลอยแพไปในธารัง
พระพายก็พัดกล้า เลก็บ้าพ้นกำลัง
พัดเข้าเกาะกะชัง นั่งเงื่องงงอยู่ในป่า
ร้อนเร้าไปถึงท้าว โกสีย์เจ้าท่านลงมา
ชบเป็นบรรณศาลา นางพระยาอยู่อาศัย
พร้อมสิ้นทั้งฟูกหมอน แท่นที่นอนนางทรามวัย
ด้วยบุญพระหน่อไท อยู่เป็นสุขเปรมปรีดิ์
เมื่อครรภ์ถ้วนทศมาส ประสูติราชจากนาภี
เอกองค์เอี่ยมเทียมผู้ชาย เล่นรำได้ด้วยมารดา
เล่นรำตามภาษา ตามวิชาแม่สอนให้
เล่นรำพอจำได้ เจ้าเข้าไปเมืองอัยกา
เล่นรำตามภาษา ท้าวพระยามาหลงไหล
จีนจามพราหมณ์ข้าหลวง ไปทั้งปวงอ่อนน้ำใจ
จีนจามพราหมณ์เทศไท ย่อมหลงไหลในวิญญาณ์
ท้าวพระยาสายฟ้าฟาด เห็นประหลาดใจหนักหนา
ดูนรลักษณ์และพักตรา เหมือนลูกยานวลทองสำลี
แล้วหามาถามไถ่ เจ้าเล่าความไปถ้วนถี่
รู้ว่าบุตรแม่ทองสำลี พาตัวไปในพระราชวัง
แล้วให้รำสนองบาท ไทธิราชสมจิตหวัง
สมพระทัยหัทยัง ท้าวยลเนตรเห็นความดี
แล้วประทานซึ่งเครื่องทรง สำหรับองค์พระภูมี
กำไลใส่กรศรี สร้อยทับทรวงแพรภูษา
แล้วประทานซึ่งเครื่องทรง คล้ายขององค์พระราชา
แล้วจดคำจำนรรจา ให้ชื่อว่าขุนศรีศรัทธา
 
ตำนาน มโนราห์3ท่ารำพระจันทร์ทรงกลดแสดงถึงความแข็งแกร่งและอ่อนช้อยที่ผสมกันอย่างลงตัว
บางกระแสเชื่อว่าการตั้งครรภ์ของนางศรีมาลา หรือนางนวลทองสำลีเกิดจากการลักลอบได้เสียกับพระม่วง หรือตาม่วงทองซึ่งเป็นมหาดเล็กในพระราชวัง จากนั้นจึงไปเสวยเกสรดอกบัวที่เทพสิงหรแบ่งภาคลง มาอยู่เพื่อถือกำเนิดในเมืองมนุษย์เป็นขุนศรีศรัทธา ดังความว่า
 เมืองพัทลุงที่บางแก้วมีเจ้าเมืองชื่อ จันทรโกสินทร์ มเหสีคือ นางอินทรณี มีเชื้อสายของชาวอินเดีย เมื่อทรงครรภ์ใกล้กำหนดจะประสูติ นางอินทรณีก็เดินทางกลับไป เพื่อประสูติที่บ้านเมืองของตนตามประเพณีที่ชาวอินเดียปฏิบัติกันมา แต่ พระครรภ์ครบกำหนดจึงต้องประสูติในเรือพระที่นั่งกลางทะเล พระธิดาที่ประสูติใหม่จึงได้นามว่า “ศรีคงคา”
จากนั้นนางจึงนำขบวนเรือกลับพัทลุง ครั้นนางศรีคงคาเจริญวัยขึ้นเทวดามาดลจิตให้นิมิตฝันว่ามีเทพธิดามา ร่ายรำให้ดู ท่ารำมี ๑๒ ท่า นางจำได้และฝึกหัด โดยดูเงาในน้ำจนชำนาญ จึงได้ชักชวนพี่เลี้ยง นางสนมกำนัล และอำมาตย์ ลักลอบร่ายรำกันในปราสาท บรรดาทหารเห็นว่านางศรีคงคามีความสนุกสนานจึงจึงช่วยกันตัดต้นกล้วยพังลา (กล้วยตานี) มาทำเป็นหน้าพราน แล้วจัดทำเครื่องดนตรี มีกลอง ทับ โหม่ง ฉิ่ง และแตระ ตีประโคมประกอบการร่ายรำ เรื่องล่วงรู้ไปถึงพระบิดามารดา แต่ก็ทรงเก็บเรื่องเงียบไว้ ไม่ทัดทานแต่อย่างใด
 ตำนาน มโนราห์4
คอนไว้สำหรับนั่ง ประหนึ่งมโนราห์คือสัตว์ปีกของสรวงสวรรค์
ครั้นต่อมาพระม่วงทองมหาดเล็กซึ่งเป็นบุตรของพระยาทองอู่หรือท้าวทองอู่ได้ลักลอบเข้าไปหานางศรีคงคมและได้เสียเป็นสามีภรรยากัน ในเวลาต่อมานางเสวยเกสรดอกบัวในสระหน้าวัง โดยไม่มีใครรู้ว่าดอกบัวนั้น เทพสิงหรได้แบ่งภาคลงมาอยู่เพื่อกำเนิดในเมืองมนุษย์ เมื่อเสวยเกสรดอกบัวแล้ว นางศรีคงคาก็ตั้งครรภ์ ความทั้งหมดทราบถึงพระบิดามารดา ทรงสอบสวนเรื่องราวว่าใครเป็นสามีของนาง นางศรีคงคาไม่เปิดเผยความจริง ทำให้พระบิดาโกรธและเห็นว่าเป็นเรื่องชั่วร้าย ทำให้เกิดความอัปยศแก่บ้านเมือง จึงให้เนรเทศโดยเอานางลอยแพ พร้อมด้วยพระพี่เลี้ยงและนางสนมกำนัล
 แพลอยไปติดเกาะกะชัง นางและพี่เลี้ยงได้อยู่ที่เกาะ นั้นกับตายาย และได้เปลี่ยนชื่อเป็นนวลทองสำลี ต่อมาได้ประสูติโอรส ให้ชื่อว่า เจ้าชายน้อย และให้เจ้าชายน้อยฝึกหัดรำโนราจนชำนาญ แล้วเล่าเรื่องแต่หนหลังให้ทราบ เจ้าชายน้อยและพระมารดาได้ออกเที่ยวรำ โนราจนเป็นที่หลงใหลของชาวบ้าน และบรรดานายสำเภาที่เดินทางค้าขาย ข่าวการรำโนราของแม่ลูกล่วงรู้ ไปถึงพระอัยกา จึงให้นายสำเภารับ ๒ แม่ลูกเข้าเมือง แต่นางนวลทองสำลีไม่ยอมกลับ ท้าวจันทรโกสินทร์จึง พาทหารไปรับนางด้วยตนเอง
เมื่อมาถึงบ้านเมือง ทุกคนก็อยากดูการรำโนรา ดังนั้นในงานพิธีรับขวัญ นางนวลทองสำลีและเจ้าชายน้อยจึงจัดให้มีการรำโนราด้วย โดยท้าวจันทรโกสินทร์ได้ประทานเครื่องต้น อันมี เทริด กำไลแขน ปั้นเหน่ง สังวาล พาดเฉียง ๒ ข้าง ปีกนกแอ่น หางหงส์ สนับเพลา ฯลฯ ซึ่งเป็นเครื่อง ทรงของกษัตริย์ให้เป็นเครื่องแต่งตัวของโนรา และเรียกโนราในตอนแรกว่า “ชาตรี”
นางนวลทองสำลี ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น ศรีมาลา ส่วนเจ้าชายน้อยได้รับบรรดาศักดิ์จากพระอัยกาเป็น “ขุนศรีศรัทธา” และทรง อนุญาตให้มีแผ่นดินอยู่เท่ากับโรงโนรา ดังนั้นเมื่อเข้าโรงโนราที่ไหนจึงต้องมีบทตั้งเมืองเปรียบเหมือนการไปหาแผ่นดินตั้งเป็นเมืองของตนเองแต่เป็นเมืองที่มีอำนาจปกครองและอาณาเขตเท่ากับพื้นที่ของโรงโนราเท่านั้น จึงมีสำนวนเปรียบเทียบชีวิตความเป็นอยู่ของโนราว่า
                                ”   แต่งตัวเทียมเจ้า กินข้าวเทียมหมา หากินใต้ แชง”     
จากนั้นขุนศรีศรัทธาจึงเที่ยวร่ายรำโนราไปในชมพูโลก และได้มาขึ้นแพที่หน้าวัดแห่งหนึ่ง เรียกว่าท่าแพ ภายหลังเพี้ยนเป็นท่าแค เพื่อตั้งโรงฝึกหัดศิษย์อยู่ที่โคกขุนทา (บ้านท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง) ดังปรากฏหลักฐานบริเวณที่เป็นเนินดินในบ้านท่าแค ที่ชาวบ้านเรียกว่า “โคกขุนทา” มาจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ ยังมีตำนานโนราที่เล่าผิดเพี้ยนกันบ้างในบางส่วน อีกหลาย ๆ กระแส ทั้งที่เล่าโดยชาว พัทลุง สงขลา และ สุราษฎร์ธานี เป็นต้น

มโนราห์ทวีศิลป์โบราณ

ประเภทของการแสดงมโนราห์
                การแสดงมโนราห์มี ๓ ชนิด
๑.การแสดงมโนราห์ธรรมดา
๒.การแสดงมโนราห์ประชันโรง
๓.การแสดงมโนราห์โรงครู
มโนราห์โรงครู

              มโนราห์โรงครูเป็นศิลปะการแสดงประเภทดนตรี และการแสดงในพิธีกรรมที่ใช้ในการรักษาโรคและสร้างขวัญกำลังใจ
               มโนราห์โรงครูหรือลงครู เป็นการเชิญตายาย ตาหลวง หรือครูหมอมโนราห์เข้ามาทรงตามปกติ คนทรงจะมีประจำอยู่แล้วหากคนทรงตายไปก่อน ต้องเลือกคนทรงใหม่อาจมีเชื้อสายมโนราห์หรือไม่มีก็ได้ โดยลูกหลานต้องมานั่งพร้อมหน้ากันและแต่งตัวคนทรงไว้ให้พร้อม คือนุ่งผ้าโจงกระเบน คาดเข็มขัดเงินหรือนาค ผ้าสไบพาดไหล่ นั่งบนบ้านหรือในโรงมโนราห์ก็ได้ ผู้ทรงมีผ้าขาวคลุมเพื่อความสะดวกในการนั่งสมาธิ นายโรงมโนราห์ว่าบทเชื้อเชิญพ่อแม่ ตายายเข้ามาทราง ตาหลวงที่เข้าทรงมีหลายองค์แต่ทุกเจ้าภาพจะต้องเชิญบูรพาจารย์มโนราห์ก่อน ซึ่งทางมโนราห์ทราบดี นั่นคือ ตาหมอเฒ่า ตาหมอสิงหร ตาหมอเทพ จากนั้นก็เชิญตายาย มโนราห์เจ้าภาพ การเชิญต้องเชิญมาเข้าทรงทีละองค์ คนทรงต้องสะบัด (มโนราห์ทำเพลงเชิด คนทรงสั่นอีกครั้ง เพื่อสลัดตาหลวงให้ออกจากร่าง) เสียก่อนจึงเชิญตาหลวงองค์ต่อไป ขณะเชิญตาหลวงเข้าทรง ดนตรีทำเพลงเชิดเข้าตามบท ร้องเชิญของครูหมอ (หัวหน้าโรง) เมื่อเข้าทรงคนทรงเริ่มทรงสั่น ดนตรีก็ทำเพลงเชิดแต่ละองค์เมื่อจับทรงหรือจับลง (สั่น) จึงเรียกวาลงครูหรือโรงครู
การแสดงมโนราห์โรงครู มีสาเหตุดังนี้

                ๑.เป็นการรับช่วงจากบรรพบุรุษที่กระทำสืบต่อกันมาโดยต้องลงครู หรือแสดงมโนราห์โรงครูทุกปีตามที่พ่อแม่ ตายายสั่งเอาไว้
                ๒.เกิดจากการบนบานศาลกว่า เนื่องจากลูกหลานเจ็บป่วยนำไปรักษาแพทย์ก็ไม่หาย จึงบนบานขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่ ตายายที่ล่วงลับไปแล้วให้รักษาอาการเจ็บป่วยนั้น หากไม่แก้บนอาจถูกลงโทษจากพ่อแม่ ตายายได้
                ๓.เกิดจากการแก้บน แต่สาเหตุจากการแก้บนบานเพื่อจะให้งานประสบผลสำเร็จในกิจการบางอย่าง พ่อแม่ตายายก็เลือกช่วย เมื่อประสบผลตามปรารถนาก็มีการแก้บนโดยมารับมโนราห์แสดงโรงครู
ขั้นตอน/ระยะเวลา/สถานที่ในการแสดงมโนราห์โรงครู

                มโนราห์โรงครู จะเข้าโรงวันพุธตอนเย็น เวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. หรือเวลาจวนค่ำและสิ้นสุดการแสดงวันศุกร์ตอนบ่ายถึงเย็น เรียกว่าแสดงโรงครูโรงใหญ่ แต่ถ้าเริ่มวันพุธและออกวันพฤหัสบดีเวลาเดียวกัน เรียกว่าแสดงโรงครูโรงเล็ก
สถานที่ในการประกอบพิธี

                โรงพิธีจะสร้างที่บ้านของผู้ที่แก้บน โดยโรงพิธีมีลักษณะเป็นโรงรูปสี่เหลี่ยม หลังคาเพิงหมาแหงนไม่มีการสร้างโรงยกพื้น หรือยกพื้นสูงพอประมาณโดยซีกที่มโนราห์แต่งตัวปล่อยโล่งมีฉากหรือม่านกั้นด้านตะวันออกมีเครื่องเซ่น เครื่องบูชา ประกอบด้วย บายศรีและดอกไม้ ธูปเทียน ตรงจั่วด้านตะวันออกทำเป็นพาไล สำหรับตั้งศาล ที่วางเครื่องบูชาและเครื่องสังเวย โรงมโนราห์ด้านตะวันออกจึงต้องคาดไม้แทนบันไดขึ้น-ลง ส่วนซีกขวามือมีเทริดหน้าพรานและเครื่องแต่งตัวมโนราห์แขวนไว้บูชา
องค์ประกอบในการทำพิธีโรงครู

                วัสดุอุปกรณ์ในการทำพิธี ได้แก่ บายศรีชั้นบน บายศรีท้องโรง สาด หมอน เพดานบนศาล เพดานท้องโรงที่ตั้งเทริด สอบนั่งลาด พานผ้าขาว เครื่องเชี่ยน (ประกอบด้วย หมาก พลู ธูป เทียน) หม้อน้ำมนต์ สายสิญจน์ ผ้าคู่ ๒ คู่ (เสื้อผ้าผู้หญิง ๑ ชุด, ผู้ชาย ๑ ชุด) มีดครู (สำหรับตัดเหมรย) หอก (ใช้ ๗ เล่มสำหรับบทแทงเข้ ใช้ในพิธีโรงครูโรงใหญ่)
                เครื่องสังเวย ได้แก่ ไก่ต้ม ๑ ตัว เหล้าขาว ๑ ขวด อาหารคาวหวาน (ข้าว แกง ถั่ว งา ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง ฯลฯ ใส่ในถ้วยเล็กๆ ให้ครบ ๑๒ ถ้วย) เครื่อง ๗ สิ่ง เครื่อง ๙ สิ่ง พอง ลา มะพร้าวอ่อน กล้วย อ้อย 
                เครื่องดนตรีและบทที่ใช้ในการประกอบพิธี
                
๑.ทับ
                ๒.กลอง
                ๓.โหม่ง
                ๔.ฉิ่ง
                ๕.ไม้แตระ
                ๖.ไม้กลับ
                ๗.ปี่
                ๘.ซอด้วง ซออู้
                นายทวี นกแก้ว หรือมโนราห์คณะทวีศิลป์โบราณถือเป็นขวัญใจมโนราห์โรงครู ที่คนในภาคใต้รู้จักเป็นอย่างดี เป็นคณะมโนราห์ที่ถอดแบบประวัติรำมโนราห์โรงครูแบบโบราณ ในเรื่องพิธีการแก้เหมรยหรือแก้บน มีบทต่างๆ และบทสำคัญทั้งหมด ๓๓๖ บท มีตัวอย่างดังนี้
บทขานเอ
                  นอกอ นะกะ เล่า และรื่นเหอรื่น ลูกจะไหว้ นางธรณีเอาเล่าและพึ่งแผน เอาหลังเข้ามาตั้งให้เป็นแท่นรองตีนชาวมนุษย์เอาเล่าและทั้งหลายชั้นกรวดและดินดำ ชั้นถัดมาชั้นนำเล่าละอองทรายนาคเจ้าแลกฤๅสายขายให้โนเนโนในขานมาเล่าแล้ขาต้องทำนองเหมือนวัวชักไถ เพลงสำลีไม่ลืมใยพี่ไปก็ลืมน้องหนา ลมตั้งเมฆแล้วก็พัดขึ้นมาลาดว่าวดาราพัดโต้ด้วยลมสลาตันแล่นเรื่อเถิดเหวย น้องกลางคืนเป็นกลางวันแล่นออกลึกไม่เห็นฝั่งเอาเกาะกะชังมาเป็นเรือนเพื่อนบ้านเขานับปี นางนวลทองสำลีนับเดือนเอาเกาะกะชังมาเป็นเรือนเป็นแท่นที่นอนของน้องหนาค่ำแล้วแก้วพี่ค่ำเอยลงมาไรไร มาเราค่อยจดค่อยจ้องมาเราค่อยร้องค่อยไปรักเจ้านวลสลิ้มคือตังพิมพ์ทองหล่อใหม่เจ้านวลทั้งตัวสคราญเจ้านวลทั้งใบเจ้านวลจริงจริงไม่มีใยขัดใจไปแล้วน้องหนาครั้งถึงลงโรง ลูกยอไหว้ครู หารือพ่อขุนศรัทธา
ประวัติศิลปิน 
                นายทวี นกแก้ว (มโนราห์ทวีศิลป์โบราณ) เป็นชาวเขาพังไกร เกิด พ.ศ. ๒๔๘๓ ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านเลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลเขาพังไกร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่อยู่ปัจจุบัน ๖/๗ หมู่ที่ ๙ ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช นายทวี นกแก้ว เริ่มฝึกหัดรำมโนราห์ โดยเป็นลูกศิษย์ของมโนราห์เทพ (สองกุก) บ้านลากชาย ตำบลเขาพังไกร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ ๑ ปี ๗ เดือน จากนั้นจึงหัดเพิ่มเติมจากมโนราห์ลาภ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดตั้งคณะมโนราห์ที่บ้านเขาเหมน กิ่งอำเภอช้างกลาง และก็รำเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันท่านมีบุตรชาย ๖ คน บุตรทั้งหมดได้รับการถ่ายทอดการแสดงมโนราห์ และรับแสดงมโนราห์กันทุกคนและถือว่าการแสดงมโนราห์เป็นอาชีพที่หาเลี้ยงครอบครัวได้ 
การแต่งกาย
                
การแต่งกาย การแสดงในสมัยก่อนตัวแสดงไม่สวมเสื้อ ตามลักษณะการแต่งกายของคนสมัยนั้นมโนราห์สวม แต่สังวาลกับทับทรวงคล้องคอ ใส่สนับเพลายาวถึงข้อเท้า นุ่งผ้าหยักสูง มีหางหงส์เจียรบาด คาดเข็มขัดทับสายเอว ข้อมือใส่กำไล ต้นแขนใส่พาหุรัดทั้งสองข้าง สวมเทริด การแต่งกายคล้ายคลึงกับการแต่งกายของกษัตริย์ ปัจจุบันการแต่งกายได้เปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว โดยมีการสวมเสื้อ เสื้อมี ๒ ชั้น ชั้นในตัดด้วยผ้าธรรมดา ชั้นนอกร้อยลูกปัด เมื่อแต่งตัวเสร็จจะสวมเทริด สวมเล็บ เล็บที่สวมจะมีลักษณะคล้ายกรวยมีก้านโค้งงาม การสวมเล็บสวมทุกนิ้วยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ
ฉาก 

                 สมัยก่อนการแสดงไม่มีฉากที่เขียนภาพ ปราสาทราชวัง หรือวิวธรรมชาติที่สวยงาม เพราะแสดงกลางลานแต่ปัจจุบันมีฉากเปลี่ยนตามท้องเรื่อง (มโนราห์โรงครูนำฉากกั้นเพื่อแต่งกายของนักแสดงผู้หญิง)
การแต่งหน้า

                  ต้องมีการเสกเป่าด้วยคาถาอาคม เช่น คาถาอิทธิเจ ช้างตามโขลง สาวลืมเรือน แม่ลืมลูก เมื่อเสกคาถาจบก็ลงอักขระ และยังถือเคล็ดการทาแป้งต้องทาตามราศีขจร วันไหนราศีอยู่ตรงต้องทาตรงนั้นก่อน แต่ปัจจุบันแต่งหน้าเพื่อความสวยงามเท่านั้นนอกจากเป็นงานที่สำคัญจริงๆ จึงมีการเสกเป่า 
จำนวนผู้แสดง

                ผู้แสดงประกอบด้วย นายโรง ตัวนาง จำอวด และนักดนตรีลูกคู่ ประมาณ ๓๐ คน
แสดงในพิธีโรงครูประมาณ ๑๐ คน ประกอบด้วย
-มีนางรำ ๓ คน
-ดนตรีลูกคู่ ๕ คน
-นายโรงและนายพราน
                หน้าพราน (นายพรานสวมใส่ที่ใบหน้า) เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของมโนราห์ การแสดงจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับคนที่เป็นพราน เมื่อออกแสดงต้องสวมหน้ากากเรียกว่าหน้าพราน แกะจากไม้ทาสี ให้ดูตลกสนุกสนาน ลักษณะพิเศษของหน้าพรานคือ จมูกใหญ่ แก้มป่อง ปลายจมูกและแก้มจะทาสีแดง มโนราห์ถือว่าหน้าพรานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสามารถป้องกันอันตรายในระยะ๓ วา จากหน้าโรงได้
บทกลอนของมโนราห์
                ใช้กลอนแปดเป็นทำนองกำพรัด การว่ากลอนหรือทำนองกลอนนี้ว่าเป็นกลอนสด มีบทชมนกชมไม้หรือใช้ท่าทางต่างๆ ของสถานที่ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในถิ่นนั้น การว่ากลอนสดแต่โบราณนี้แสดงให้เห็นว่าชาวใต้เป็นนักกลอนโดยสายเลือด
การสืบทอด
                
มโนราห์คือมรดกอันล้ำค่าของภาคใต้ มรดกเหล่านี้ได้ตกทอดกันมาเป็นเวลานาน ผู้รำมโนราห์เท่ากับว่าเป็นผู้รับมรดกและถ่ายทอดมรดกโดยตรงให้แก่ลูกหลานต่อไปในอนาคต ซึ่งมโนราห์ทวีศิลป์โบราณได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดให้เยาวชนเช่น
๑.สอนให้กับนักเรียนโรงเรียนมหาราช ๓ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
๒.โรงเรียนวัดจำปา อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
๓.เปิดฝึกสอนที่บ้านของตนเองให้กับบุตรหลานและผู้ที่สนใจ
เก็บข้อมูล ณ มโนราห์ทวีศิลป์โบราณ ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙
โดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช

เครื่องดนตรีมโนราห์

มโนราห์ - เครื่องดนตรีโนราห์

เครื่องดนตรีโนรา
เครื่องดนตรีของโนรา ส่วนใหญ่เป็นเครื่อง ตีให้จังหวะ
๑. ทับ (โทนหรือทับโนรา) เป็นคู่ เสียงต่างกันเล็กน้อย ใช้คนตีเพียงคนเดียว เป็นเครื่องตีที่สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยนจังหวะทำนอง (แต่จะต้องเปลี่ยนตามผู้รำ ไม่ใช่ผู้รำ เปลี่ยน จังหวะลีลาตามดนตรี ผู้ทำหน้าที่ตีทับจึงต้องนั่งให้มอง เห็นผู้รำตลอดเวลา และต้องรู้เชิง ของผู้รำ)

๒. กลอง เป็นกลองทัดขนาดเล็ก (โตกว่ากลองของหนังตะลุงเล็กน้อย) ๑ ใบทำหน้าที่เสริมเน้นจังหวะและล้อเสียงทับ


๓. ปี่ เป็นเครื่องเป่าเพียงชิ้นเดียวของวง นิยมใช้ปี่ใน หรือ บางคณะอาจใช้ปี่นอก ใช้เพียง ๑ เลา ปี่มีวิธีเป่าที่คล้ายคลึงกับขลุ่ย ปี่มี ๗ รูแต่สามารถกำเนิดเสียงได้ ถึง ๒๑ เสียงซึ่งคล้ายคลึงกับเสียงพูด มากที่สุด


๔. โหม่ง คือ ฆ้องคู่ เสียงต่างกันที่เสียงแหลม เรียกว่า "เสียงโหม้ง" ที่เสียงทุ้ม เรียกว่า
"เสียงหมุ่ง" หรือ บางครั้งอาจจะเรียกว่าลูกเอกและลูก ทุ้มซึ่งมีเสียงแตกต่างกันเป็น คู่แปดแต่ดั้งเดิมแล้วจะใช้คู่ห้า


๕. ฉิ่ง หล่อด้วยโลหะหนารูปฝาชีมีรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก สำรับนึงมี ๒ อัน เรียกว่า ๑ คู่เป็นเครื่องตีเสริมแต่งและเน้นจังหวะ ซึ่งการตีจะแตกต่างกับการตีฉิ่ง ในการกำกับจังหวะของดนตรีไทย


๖. แตระ หรือ แกระ คือ กรับ มี ทั้งกรับอันเดียวที่ใช้ตีกระทบกับรางโหม่ง หรือกรับคู่ และมีที่ร้อยเป็นพวงอย่างกรับพวง หรือใช้เรียวไม้หรือลวด เหล็กหลาย ๆ อันมัดเข้าด้วยกันตีให้ปลายกระทบกัน

เครื่องแต่งกายมโนราห์


เครื่องแต่งกายของมโนราห์ ประกอบด้วยสิ่งสำคัญต่อไปนี้


๑. เทริด(อ่านว่าเซิดเป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนายโรงหรือโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง (โบราณไม่นิยม ให้นางรำใช้ทำเป็นรูปมงกุฎเตี้ย มีกรอบหน้า มีด้ายมงคลประกอบ

๒.เครื่องลูกปัด เครื่องลูกปัดจะร้อยด้วยลูกปัดสีเป็นลายมีดอกดวง ใช้สำหรับสวมลำตัวท่อนบนแทนแขนเสื้อ ประกอบ ด้วยชิ้นสำคัญ  ชิ้น คือ


·       บ่า สำหรับสวมทับบน บ่าซ้าย-ขวา รวม  ชิ้น



·       ปิ้งคอ สำหรับสวม ห้อยคอหน้า-หลัง คล้ายกรองคอ รวม  ชิ้น



·       พานอก ร้อยลูกปัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้พันรอบตัวตรงระดับอก บางถิ่นเรียกว่า "พานโครงบางถิ่นเรียกว่า "รอบอก"
เครื่องลูกปัดนี้ใช้เหมือนกันทั้งตัวยืน และตัวนาง(รำแต่มีช่วงหนึ่งที่ คณะชาตรีในมณฑลศรีธรรมราชใช้อินทรธนู ซับทรวง(ทับทรวงปีกเหน่ง แทนเครื่องลูก ปัดสำหรับตัวยืนเครื่อง



ปีกนกแอ่น หรือ ปีกเหน่ง มักทำด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายนก นางแอ่นกำลังกางปีก ใช้สำหรับ โนราใหญ่หรือตัวยืน เครื่องสวมติดกับสังวาลย์อยู่ที่ระดับเหนือสะเอวด้าน ซ้ายและ ขวา คล้ายตาบทิศของละคร


ซับ ทรวง หรือทับทรวง หรือตาบ สำหรับสวมห้อยไว้ตรง ทรวงอก นิยมทำด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายขนม เปียกปูนสลักเป็นลวดลาย และอาจฝังเพชรพลอย เป็นดอกดวงหรืออาจร้อยด้วยลูกปัด นิยมใช้เฉพาะตัวโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง ตัวนางไม่ ใช้ซับทรวง



ปีก หรือที่ชาวบ้าน เรียกว่า หางหรือหางหงส์ นิยมทำด้วยเขาควาย หรือโลหะเป็นรูปคล้ายปีกนก  คู่ ซ้าย ขวา ประกอบกัน ปลายปีกเชิดงอนขึ้นและผูกรวมกัน ไว้ มีพู่ทำด้วยด้ายสีติดไว้ เหนือปลาย ปีก ใช้ลูกปัดร้อยห้อยเป็นดอกดวงรายตลอด ทั้งข้างซ้าย และขวาให้ดูคล้ายขนของนก ใช้สำหรับสวมคาดทับผ้านุ่งตรงระดับ สะเอว ปล่อย ปลายปีกยื่นไปด้านหลังคล้ายหางกินรี
ผ้านุ่ง เป็นผ้ายาวสี่เหลี่ยมผืนผ้า นุ่ง ทับชายแล้วรั้งไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยปลาย ชายให้ห้อยลงเช่นเดียวกับหางกระเบนเรียกปลาย ชายที่พับแล้วห้อยลงนี้ว่า "หางหงส์ " (แต่ชาวบ้านส่วน มากเรียกปีกว่า หาง หงส์การนุ่งผ้าของโนราจะรั้งสูงและ รัดรูปแน่นกว่านุ่งโจงกระเบน
หน้า เพลา เหน็บเพลา หนับเพลา ก็ว่า คือ สนับเพลา สำหรับ สวมแล้วนุ่งผ้าทับ ปลายขาใช้ลูกปัดร้อย ทับหรือร้อยแล้ว ทาบ ทำเป็นลวดลายดอกดวง เช่น ลายกรวยเชิงรักร้อย
หน้าผ้า ลักษณะเดียวกับชายไหว ถ้าเป็นของโนราใหญ่ หรือ นายโรงมักทำด้วยผ้าแล้วร้อยลูกปัดทาบ เป็นลวดลาย ทื่ทำเป็นผ้า  แถบ คล้ายชาย ไหวล้อมด้วยชายแครงก็มี ถ้าเป็นของนางรำ อาจใช้ผ้าพื้นสีต่าง  สำหรับคาดห้อยเช่น เดียวกับชายไหว
ผ้าห้อย คือ ผ้า สีต่าง  ที่คาดห้อยคล้ายชายแครง แต่อาจ มีมากกว่า โดยปกติจะใช้ผ้าที่โปร่งบาง สีสด แต่ละผืนจะเหน็บห้อย ลงทั้งด้าน ซ้าย เละด้านขวาของหน้าผ้า
๑๐กำไล ต้นแขนและปลายแขน เป็นกำไลสวมต้นแขน เพื่อ ขบรัดกล้ามเนื้อให้ดูทะมัดทะแมงและเพิ่มให้สง่า งามยิ่งขึ้น
๑๑กำไล กำไลของโนรามัก ทำด้วยทองเหลือง ทำเป็น วงแหวน ใช้สวมมือ และเท้าข้างละหลาย  วง เช่นแขนแต่ละ ข้าง อาจสวม -๑๐ วงซ้อนกัน เพื่อเวลา ปรับเปลี่ยนท่าจะได้มีเสียงดังเป็นจังหวะเร้าใจยิ่งขึ้น
๑๒เล็บ เป็นเครื่องสวมนิ้ว มือให้โค้งงาม คล้ายเล็บกินนร กินรี ทำด้วยทอง เหลืองหรือเงิน อาจต่อปลายด้วยหวายที่มีลูก ปัดร้อย สอดสีไว้พองาม นิยมสวมมือละ นิ้ว (ยกเว้นหัวแม่มือ)
เครื่องแต่ง กายโนราตามรายการที่  ถึงที่ ๑๒ รวม เรียกว่า "เครื่องใหญ่เป็นเครื่องแต่งกายของ ตัวยืนเครื่องหรือโนราใหญ่ ส่วนเครื่องแต่งกายของ ตัวนางหรือนางรำ เรียกว่า "เครื่องนางจะ ตัดเครื่องแต่งกายออก  อย่าง คือ เทริด (ใช้ ผ้าแถบสีสดหรือผ้าเช็ดหน้าคาดรัดแทนกำไลต้นแขน ซับทรวง และปีก นกแอ่น (ปัจจุบัน นางรำทุกคนนิยมสวมเทริดด้วย)
๑๓หน้าพราน เป็นหน้ากากสำหรับตัว "พรานซึ่ง เป็นตัวตลก ใช้ไม้แกะเป็นรูปใบหน้า ไม่ มีส่วนที่เป็นคาง ทำจมูกยื่นยาว ปลายจมูก งุ้มเล็กน้อย เจาะรูตรงส่วนทื่เป็นตาดำ ให้ผู้สวมมองเห็นได้ถนัด ทาสีแดงทั้งหมด เว้นแต่ส่วนที่เป็น ฟันทำด้วยโลหะสีขาว หรือทาสีขาว หรืออาจเลี่ยมฟัน (มีเฉพาะ ฟัน บนส่วนบนต่อจากหน้าผากใช้ขนเป็ด สีขาวติดทาบไว้ต่างผมหงอก
๑๔หน้าทาสี เป็นหน้ากากของตัวตลกหญิง ทำเป็น หน้าผู้หญิง มักทาสีขาวหรือสีเนื้อ

ครูหมอมโนราห์

                       ศิษย์ใดไร้ครูเหมือนงูไร้พิษ


(นี่คือหน้าพราน สีแดงนั้นคือตัวแทนของครูหมอมโนราห์ฝ่ายชาย 
สีขาวนั้นเป็นตัวแทนของครูหมอมโนราห์ฝ่ายหญิง--->เรียกว่าหน้าทาสี)
สังคมไทยนั้นให้ความสำคัญกับครูมาตั้งแต่โบราณ เพราะเชื่อกันว่าครูคือผู้ที่ช่วยประสิทธิ์ประสาทความรู้ สร้างคนให้เป็นคน มีบุญคุณเป็นอันดับรองต่อจากบิดามารดา ศาสตร์ทุกศาสตร์จึงมีพิธีกรรมเกี่ยวกับการไหว้ครู เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการกตัญญุรู้คุณ ไม่ว่าจะเป็นสังคมโรงเรียนที่มีการไหว้ครู ทุกๆที่  โขนละครก็เป็นนาฏศาสตร์ที่มีพิธีการไหว้ครูที่เกี่ยวเนื่องกับมหาเทพ และมีสถาบันคนชั้นฟ้าที่เราหวงแหนมาร่วมพิธี เพราะได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการไหว้ครูในพิธีนี้
สังคมชาวใต้ก็เช่นกันครับ จะมีการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ เรียกว่า ครูหมอ  ในพื้นที่ 14 จังหวัดจะมีการันบถือครูหมอ มีให้เห็นอยู่โดยทั่วไป ครูหมอที่ดูจะโดดเด่นที่สุดคือครูหมอมโนราห์ เพราะนี่เป็นศาสตร์แห่งแผ่นดินของชาวใต้ อีกทั้งคนที่มีเชื้อสายมโนราห์จะรู้กันดีว่า ครูหมอมโนราห์นั้นมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหนือคำว่าวิทยาศาสตร์อยู่ไม่น้อย
มโนราห์เป็นศาสตร์ แห่งการร่ายรำ การร้องและไสยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตมาตั้งแต่สมัยโบราณ เชื่อกันว่ามโนราห์นั้นเกิดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยา โดยเกิดที่แรก แถบลุ่มทะเลสาปสงสขลา โดยได้รับอิทธิพลแนวคิดมาจากศาสนาพราหมณ์ ถูกกาลเวลาผสมผสานเอาความเชื่อทางพุทธและความเชื่อดั้งเดิมของชาวใต้มารวมกัน จนตกผลึกทางวัฒนธรรมกลายเป็นความงามที่เชิดชูความเป็นด้ามขวาน

     (นี่คือหน้าพรานอันเป็นตัวแทนครูหมอมโนราห์ที่ยังไม่ได้รับการทาสีและตกแต่ง)

ในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากกรุงศรีแตก นั้น พระเจ้าตากสินทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของศิลปะการแสดงของบ้านเมือง จึงได้ส่งชาววังมาสืบวัฒนธรรมที่ นครศรีธรรมราช ซึ่งสมัยนั้นเป็นประเทศราชที่ไม่ได้รับความเสียหายจากสงคราม ตอนนั้น ครูโขนที่มาจากรกรุงธนบุรี กับครูมโนราห์ทางใต้ได้ร่วมสอบ ความตรงกันทางด้านวัฒนธรรม จนเสร็จสิ้น ในตำราครูโขนละคร จึงได้น้อมนำเอาครูมโนราห์มาเป้นตัวแทนครูชาตรี (ละครนอก) ในการครอบครู เศียรที่ได้รับเลือกคือ เศียรพ่อแก่ เทริดมโนราห์ (มงกุฎมโนราห์) และเศียรพระพิราพ
จากจุดนี้ ทำให้เห็นว่าครูหมอมโนราห์นั้นมีศักดิ์ที่ใหญ่ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในลำดับรองลงมาจากมหาเทพ อย่างพระอิศาวร พระพรหม เป็นต้น หากงานใดไม่มีการนำเทริดมโนราห์มาร่วมพิธี จะถือว่างานครอบครูนั้นไม่สมบูรณ์ เพราะขาดตัวแทนของครูละครนอก
ทำไมวันนี้สังคมชาวใต้ยังคงมีครูหมอ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่เคยเลือนหายไปไหน เพราะชาวใต้รู้ดีว่า หากเพิกเฉย ไม่สนใจ ไม่นับถือ แล้วแรงครู จะทำให้บังเกิดอาถรรพ์ และความเป็นไป ต่างๆ เช่น อยู่ๆก็สามารถทำให้เกิดความเจ็บป่วยที่ศาสตร์การแพทย์ปัจจุบันไม่สามารถรักษาให้หายได้ หรือแม้แต่ สามารถทำให้เกิดอาการวิกลจริต แก่สมาชิกครอบครัวได้ แต่เมื่อ ทำพิธีขอขมา และหันมาใส่ใจนับถือ เพทภัยเหล่านั้นก็จะหายไป เรื่องราวของความศักดิ์สิทธิ์นี้หากจะเล่ากันคงไม่วันจบสิ้น เพราะครุหมอนั้นสามารถบันดาลให้เกิดเพทภัยได้ 108 ประการ พื้นที่ที่มีการนับถือครูหมอมโนราห์อย่างเข้มข้นก็ไดแก่ ตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา

  แล้วครูหมอนั้นคือใคร
ครูหมอนั้นก็คือ บรรพชนที่เคยมีชีวิตในอดีต แต่เมื่อละสังขารไปแล้ว ยังคงปกปักรักษาลูกหลาน ครูหมอประเภทนี้จะเรียกว่า ตา-ยาย ครูหมอบางประเภทนั้นเป็นครูที่เคยสอนศิลปะใดๆแก่ศิษย์ และศิษย์ก็น้อมมานับถือเมื่อท่านละสสังขารไป ครูหมอพวกนี้ได้แก่ ครูหมอมโนราห์ ครูหมอหนังตลุง ครูหมอช่างเหล็ก ครูหมอปืน เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีครูหมอที่เกิดจากเรื่องเล่าในตำนานการเกิดมโนราห์ เหล่านี้จะเรียกว่าราชครูโนรา ได้แก่ พ่อขุนศรัทธา แม่ศรีมาลา แม่ศรีคงคา พ่อเทพสิงหร พระยาสายฟ้าฟาด พระยาโถมน้ำ พระยาลุยไฟ พรานบุญ เป็นต้น ราชครูนั้นคือคนในตำนานที่มียศถาบรรดาศักดิ์นั้นเอง




มโนราห์เติม


มโนราห์เติม บ้านเดิมอยู่ตรัง



        บุคคลผู้มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรม เติม อ๋องเซ่ง  มโนราห์เติม บ้านเดิมอยู่ตรัง


ตรงแผ่นดินอ่อนหน้าบัว หรือที่เก็บกระดูกของยอดศิลปินภาคใต้ ณ วัดโคก สมานคุณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีคำจารึกเป็นคำกลอน คำประพันธ์ของ ก.ศรนรินทร์ หรือพระราชรัตนดิลก ขึ้นต้นบทแรกว่า


อันนายเติม อ๋องเซ่งเก่งโวหาร ปฏิภาณกลอนศัพท์ขับคำขวัญ

มโนราห์ชั้นนำคนสำคัญ พรสวรรค์ให้จึงได้เป็น


เติม อ๋องเซ่ง คือ มโนราห์เติม มโนราห์มีชื่อเสียงคนหนึ่งของภาคใต้ แม้จะล่วงลับไปแล้ว ผู้คนยังบอกเล่ากล่าวขานถึงกันไม่รู้วาย

มโนราห์เติม เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ปีขาล พ.ศ. 2457 ที่ตำบลเขาวิเศษ อำเภอสิเกา ปัจจุบันเป็นเขตอำภอวังวิเศษ สืบเชื้อสายมโนราห์มาตั้งแต่รุ่นปู่ถึงรุ่นพ่อ คือ มโนราห์ตั้ง มีแม่ชื่ออบ และน้องชายชื่อตุ้ง


หนุ่มเติมพี่ชายนั้น แม้จะได้หัดมโนราห์จากพ่อจนได้ออกโรงมาแล้วตั้งแต่อายุ 13 ปี แต่เบื้องต้นมุ่งเอาดีทางการเรียนเสียมากกว่า จึงได้เรียนจบชั้นประถมที่บ้านเกิด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ แล้วไปต่อที่โรงเรียนคณะราษฏร์บำรุง จังหวัดยะลา จบชั้นมัธยมปีที่ 8 จากนั้นกลับมารับราชการเป็นเสมียนที่อำเภอสิเกา เมื่ออายุได้ 18 ปี ฝ่ายหนุ่มตุ้งน้องชายเอาดีทางมโนราห์ จนได้ตั้งเป็นคณะมโนราห์ตุ้ง ประชันโรงกับคณะมโนราห์อื่น ๆ ชนะทุกครั้ง จนมีชื่อเสียงขึ้นเรื่อย ๆ ครั้งหนึ่งเกิดแพ้มโนราห์ที่มีชื่อเสียงมากคณะหนึ่ง หนุ่มเติมพี่ชายซึ่งมาช่วยรำอยู่เป็นครั้งคราวถึงกับเสียใจมาก ประกาศตัวเป็นมโนราห์แสดงรวมกับน้องชาย จนชาวบ้านนิยมเรียกชื่อคณะว่า โนราตุ้ง - เติม ต่อมาหนุ่มตัดใจลาออกจากราชการมาแสดงมโนราห์เต็มตัว ได้ประชั้นโรงกับมโนราห์ที่มีชื่อเสียงเด่นดังหลายคณะ และชนะมาตลอด ได้รับรางวัลเป็นถ้วยเกียรติยศและขันน้ำพานรองมากมาย ต่อมามโนราห์ตุ้งเสียชีวิตไปก่อน


ครั้งหนึ่งจังหวัดตรังจัดให้มีการประชันโรงมโนราห์ทั่วภาคใต้ มีผู้เข้าแข่งขันถึง 50 โรง ปรากฎว่ามโนราห์เติมชนะเลิศ ได้รับเกียรติยศเป็นรางวัลและมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วภาคใต้


ด้วยความที่เป็นผู้มีชื่อโด่งดัง คารมดี ประกอบกับเป็นคนมีนิสัยเจ้าชู้ เมื่อไปแสดงที่ใดก็มักได้ภรรยาที่นั้น จนปรากฎว่ามโนราห์เติมมีภรรยาถึง 54 คน สองคนสุดท้ายคือ หนูวิน - หนูวาด ลูกสาวมโนราห์วัน แห่งเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเคยประชันโรงผลัดกันแพ้ชนะหลายครั้ง เกี่ยวกับภรรยาทั้งสองนี้ มโนราห์เติมเคยฝากลีลากลอนกระทบว่าที่พ่อตามาก่อนแล้วว่า ไม่เกรงใจพ่อตาโนราวัน จะเอามันให้ฉาดทั้งวาดวิน ในที่สุดก็เป็นความจริง


หลังแต่งงานกับหนูวินแล้ว ก็รวมคณะมโนราห์เป็นโรงเดียวกัน แม้มโนราห์ตุ้งจะตายไปหลังการรวมโรงประมาณ 2 ปี แต่การแสดงก็ยังเป็นที่นิยมมากขึ้น เมื่อหนูวาดมาอยู่ด้วยและได้ออกโรงด้วยกันก็ยิ่งเด่นดังจนไม่มีใครกล้าประจัน จนได้ตระเวนแสดงทั่ว 14 จังหวัดภาคใต้ และเคยไปแสดงที่กรุงเทพฯ และประเทศมาเลเซียอีกหลายครั้ง ในขณะที่มโนราห์เติมกำลังมีชื่อเสียงนั้น เคยลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของจังหวัดตรัง แต่ปรากฎว่าแพ้กลยุทธ์การหาเสียงของผู้สมัครคนอื่น ๆ ที่บอกกับประชาชนว่า ถ้าเลือกโนราเติมไปเป็นผู้แทนเสียแล้ว ใครจะเล่นโนราให้ดู


ในยุคที่มโนราห์เติมกำลังเฟื่องฟูนั้น เทคโนโลยีบันเทิงก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นด้วย มโนราห์เติมจึงต้องคิดดัดแปลงพัฒนารูปแบบ การเล่นขึ้นใหม่ เพื่อตรึงความนิยมของคนดูเอาไว้ โดยหันมาเน้นด้านบทกลอนที่เป็นกลอนสดมากกว่าการร่ายรำแบบโบราณ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง เพราะมีพรสวรรค์ด้านนี้เป็นพิเศษอยู่แล้ว ด้านการแต่งกายก็เปลี่ยนแปลงจากเครื่องลูกปัดมาใช้แบบสากลแทน และดัดแปลงการเล่นเรื่องเป็นแบบนวนิยายสมัยใหม่


การดัดแปลงรูปแบบการเล่นดังกล่าว ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นผู้ทำลายเอกลักษณ์ดั้งเดิมของมโนราห์ ซึ่งมโนราห์เติมได้อธิบายเหตุผลและความจำเป็นไว้ว่า เป็นเพราะอิทธิพลของภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ ค่านิยมของคนดู หนังสือนวนิยาย ความเบื่อหน่ายอุปกรณ์สมัยใหม่หาง่าย และผู้รำแสดงได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้นจึงสอดแทรกความคิด ความรู้สึกของตนเองเข้าไปในงานศิลปะ และสรุปเป็นบทกลอนไว้ด้วยว่า "ทั้งนี้เพราะอาชีพบีบบังคับ จึงต้องปรับปรุงแปลงตามแบบใหม่ เอาของเก่าเข้าแทรกซอยทยอยไป เพื่อบำรุงชาวไทยใจคนดู"


มโนราห์เติมนับเป็นผู้มีอัจริยะอย่างยิ่งในการขับกลอนสด ยิ่งได้ตอบโต้กับในเชิงกลอนกับพรานแมงคู่ใจจำอวดประจำโรงแล้ว บรรดาผู้ชมย่อมยึดที่นั่งหน้าโรงไม่ยอมลุกไปไหนแน่นอน


งานเฉลิมพระชนมพรรษา และงานฉลองรัฐธรรมนูญของตรัง ซึ่งแต่เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า งานหลองรัฐ คือ สนามประชันบรรดาหนังตะลุง มโนราห์ และการละเล่นต่าง ๆ ในครั้งนั้น มโนราห์ที่มีชื่อเสียง โด่งดังของเมืองตรัง ที่ไม่มีใครกล้ามาประชัน ได้แก่ มโนราห์เฟื่อง เมื่อมีผู้หาญกล้า คือ มโนราห์เติม ก็กลายเป็นการต่อกรระหว่างเสือเฒ่ากับสิงห์หนุ่ม แน่นอน ที่ว่าลีลาของทั้งสองย่อมสูสีกัน จนยากที่จะตัดสินแพ้ชนะ สุดท้ายจึงต้องต่อกลอนสดกันดังที่มีผู้จำต่อ ๆ กันมาว่า


ถ้าแพ้ลูกเติมงานเหลิมไม่รำ คือ บทประกาศกร้าวมาจากทางโรงของมโนราห์เฟื่อง พร้อม ๆ กับเสียงโหม่งเสียงกลอง และเสียงเชีรย์ของบรรดาผู้ชม


ถ้าแพ้ลูกเฟื่องถอดเครื่องจำนำ คือ บทตอบกลับมาทันทีจากทางโรงมโนราห์เติม พร้อมกับเสียงเชียร์ที่อื้ออึงยิ่งกว่าเก่า


หลังจากการประชันกลอนสดครั้งนี้ก็ไม่มีใครฟังกลอนมโนราห์เฟื่องในงานฉลองรัฐ ฯ อีกเลย ส่วนสิงห์หนุ่มก็ขยายวงกว้างออกไปทั่วภาคใต้ ข้ามแดนไปถึงมาเลเซีย บางคราวก็ขึ้นไปถึงกรุงเทพฯ


มโนราห์เติม ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ มกราคม พ.ศ. 2514 อายุได้ 57 ปี จากนั้นหนูวิน- หนูวาด ภรรยาก็ยังแสดงมโนราห์ในชื่อ คณะมโนราห์เติมต่อมาอีกหลายปี